หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม
เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรืออาจจะเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้มีความทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย
ความสำคัญของนวัตกรรม
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ
ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักในการพิจารณาการเป็นนวัตกรรม
1.การคัดเลือกสิ่งที่นำมาเป็นนวัตกรรมก็จะต้องเป็นสิ่งที่มีจุดเด่นและสามารถทำงานนั้นๆได้ดีกว่าสิ่งเดิม
2.จะต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับระบบการใช้งานนั้นๆหรือไม่
3.ในการที่จะนำอะไรสักอย่างมาทำเป็นนวัตกรรมนั้นจะต้องมีการพิสูจน์จากงานวิจัยว่านวัตกรรมนั้นสามารถที่จะใช้ได้ผลจริงและได้ผลที่ดีกว่าของเดิมอย่างแน่นอน
4.จะต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่
ประเภทของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือ
การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่ง
ใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการ
เปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ
ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
มีการประดิษฐ์คิดค้น ( Innovation ) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ
( Development ) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
( Pilot Project )
ระยะที่
3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา
(Educational
Innovation)” หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถที่จะเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้ดีอีกด้วย
E-Learning
เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ได้ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic
Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ”
ห้องเรียนเสมือนจริง
ความหมาย การ
เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ
ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม
และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ
บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ
การศึกษาทางไกล (DistanceLearning )
การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน
การทำงาน
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภท
1.
นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
2.
นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.
นวัตกรรมด้านหลักสูตร
4.
นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
5.
นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่
จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
2.ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1.
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different)
2.
ความพร้อม (Readiness)
3.
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.
ประสิทธิภาพในการเรียน
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ
ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ
โดยอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้วก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ
และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ
จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
เทคโนโลยี
หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology ) ตามรูปศัพท์
เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา
ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ
3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ
อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล
และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ
ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ความแตกต่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นการคิดค้นวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือทำการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ส่วนเทคโนโลยี คือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่างๆ
อย่างมีระบบ หรือจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากผลการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ
ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.การเรียนแบบ
มัลติมีเดีย
5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย
มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ
ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
ความหมายของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ
การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา
( 2542 ) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ
หมายถึง
ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง
และระดับสูง
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
1.ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น
2.ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่น ๆ
ความสำคัญของสารสนเทศ
1.ทำให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความรู้
(Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding)
ในเรื่องดังกล่าว
ข้างต้น
2.เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว
สารสนเทศจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ใน
เรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.นอกจากนั้นสารสนเทศ
ยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่าง
ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ประเภทของสารสนเทศ
1.
สารสนเทศปฐมภูมิ ( Primary source )
คือสารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง
เป็นสารสนเทศทางวิชาการในลักษณะการเผยแพร่ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
การค้นพบ เป็นต้น
2.
สารสนเทศทุติยภูมิ ( Secondary source ) คือ
สารสนเทศที่ได้ขากการรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่
จากสารสนเทศที่มีการเผยแพร่มาก่อนแล้วของสารสนเทศปฐมภูมิ
3.
สารสนเทศตติยภูมิ ( Tertiary source )
คือสารสนเทศที่จัดทำในลักษณะที่รวบรวมขึ้น
เพื่อใช้ค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ ซึ่งไม่ใช่เนื้อหาเกี่ยวกับความรู้โดยตรง
ประโยชน์ของสารสนเทศ
1.
ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.
ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3.
ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.
ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.
เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซับซ้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น