บทที่ 8
อินเทอร์เน็ต ( Internet )
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
( Internet )
คือ
เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย
ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้
นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้
โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ
WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ
เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง
และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน
แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ
เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง
ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้
จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ประวัติของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์
ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย
หรือตัดขาด
แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ
ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์คขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร
องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม
ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน
แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด
เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย
เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ
ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic
Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก
ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป
แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523
คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์
มีการทางธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ
ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน ปี
พ.ศ.2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ)
กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร
โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway 2 แห่ง คือ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ต
เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus
Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี (KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ เรียกโดยย่อว่า ISP (Internet Service Provider)
ข้อดีและข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต
ข้อดีของ internet
- ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยน
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทอนิกส์หรือการพูดคุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง
- มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- สามารถค้นหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้ผ่านบริการ www
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
- ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา
ระยะทางในการมาเรียนเป็นอย่างดี
- ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจกลัวการตอบคำถาม
มีอิสระ
ข้อจำกัดของ internet
- อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระทำให้การควบคุมทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียต่อการศึกษาเผยแผ่อยู่เป็นจำนวนมาก
- ไม่มีระบบจัดการที่ดี
ทำให้การค้นหาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลบางอย่างไม่จริง
ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกหรือโดนกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี
- ข้อมูลบางอย่างไม่เหมาะสมกับเด็ก
- ผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย(Wire internet) และไร้สาย (Wireless Internet)
การเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย(wire internet) แบ่งได้ตามความลักษณะของผู้ใช้ได้ดังนี้
1.
การเชื่อมต่อแบบองค์กร
ในกรณีนี้ผู้ขอเชื่อมต่อเป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กร
(LAN) อยู่แล้ว การเชื่อมต่อสามารถเอาเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นมาเชื่อมต่อได้เลย
จะทำให้เครื่องอื่นๆ ในระบบทั้งหมดสามารถเข้าไปใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้
การเชื่อมต่อแบบนี้อาจเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ หรือ คู่สายเช่า (Lease line)
2.
การเชื่อมต่อส่วนบุคคล บุคคลทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่
เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์
ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Modem การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบ dial-up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ
ISP ก่อน
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ISP
4. Modem
Modem คือ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัล (digital) ซึ่งเป็นสัญญาณในคอมพิวเตอร์
ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog) เช่น
สัญญาณเสียง เพื่อส่งไปตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลอีกครั้งเมื่อสัญญาณถึงปลายทาง
Modem แบ่งได้เป็น 3
ประเภท ดังนี้
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก
สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก
2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem) เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด
(main board) ของ เครื่องคอมพิวเตอร์
โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก
เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (PCMCIA modem)
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1.
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้
ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2.
การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile
Internet)
- WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต
ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา
แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น
จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
- GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง
และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก
เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว
56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง
ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
- โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ
CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
- เทคโนโลยีบลูทูธ
(Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย
โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูทูธเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด
เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3.
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ
เครื่องปาล์ม (Palm)
ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน
GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น
Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต
SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
หมายเลขประจำเครื่องและโดเมนเนม
IP Address: หมายเลขประจำเครื่อง
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ต
จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันเลย เรียกว่า IP Address หรือ Internet Address เพื่อใช้เป็นตัวชี้เฉพาะในระบบเมื่อมีการติดต่อสื่อสารภาษาสื่อสารจะใช้ภาษา
TCP/IP จะให้หมายเลข IP Address ของ
เครื่องต้นทางและปลายทางนี้ในการกำกับข้อมูลที่ส่งผ่านไปในระบบเพื่อให้
สามารถส่งผ่านไปยังที่หมายได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นถ้าเปรียบเครื่องแต่ละเครื่องเป็นบ้านแต่ละหลัง
IP Address ก็คือบ้านเลขที่ของบ้านแต่ละหลังนั่นเอง
IP Address จะประกอบด้วยข้อมูลจำนวน
32 บิต โดยแยกออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 8 บิต โดยแต่ละส่วนจะขั้นด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 208.48.176.11 เป็น IP Address ของเครื่องเครื่องหนึ่งนั่นเอง
ชื่อโดเมน หรือ
โดเมนเนม (domain name)
หมายถึง
ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์
หรืออีเมลแอดเดรส)เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส
ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน
บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม
หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ
"-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ
จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่
A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ADSL
อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
การเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไปในอดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหมุนโมเด็มเข้าสู่ระบบ
ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในปัจจุบันสูงสุดได้ไม่เกิน
56 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps) แต่ในความเป็นจริงแล้ว
น้อยครั้งที่เราสามารถใช้งานโมเด็มได้เต็มความสามารถที่ความเร็วดังกล่าว
เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่นสภาพของคู่สายโทรศัพท์ไม่ดีพอ
หรือขีดความสามารถของผู้ให้บริการ
ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วต่ำดังกล่าวได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง
และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในบ้านเราปัจจุบันยังไม่สูงมากนัก
อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้ตามบ้านปัจจุบันคือการใช้เคเบิ้ลโมเด็ม ซึ่ง
ถึงแม้จะให้ความเร็วที่สูงแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องลงทุนเดินสายสัญญาณ
ใหม่ทำให้ต้องจ่ายค่ายริการที่ค่อนข้างสูงและมีพื้นที่บริการจำกัดอยู่เฉพาะ
ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น
คุณสมบัติของเทคโนโลยี ADSL มีอะไรบ้าง
ความเร็วสูง เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ
56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140
เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps.
การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ค่าใช้จ่ายคงที่
ในอัตราที่ประหยัด
ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา
ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง
ความเร็วของ ADSL เป็นอย่างไร
เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล
(Upstream) ไม่เท่ากัน
โดยมีความเร็วในการรับข้อมูลสูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที
(Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่
128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น
โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น