หน่วยที่ 2
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยี และสารสนเทศ
หลักการ แนวคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
กิดานันท์ มลิทอง (2543 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด
การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา
หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน
เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ
นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา
(Educational Innovation)” หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
“เทคโนโลยีทางการศึกษา”
(Educational Technology) ตามรูปศัพท์
เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา
ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional
Innovation)หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว
หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ และชุดการสอน
นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น
การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย
ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน การจัดทำ
จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น
การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป”
และ “บทเรียนโปรแกรม” เป็นต้น
ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
- คิดหรือทำขึ้นใหม่
-
เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
- คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
- เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
-
สถานการเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2.
เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3. นำมาใช้หรือปฏิบัติได้ดี
4.
มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different) เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in Phases)
3.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอน
ปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษา
การใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริม
สนับสนุน การสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์
จุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ
1.
ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3.
ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4.
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ
เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
ประเภทของนวัตกรรม
1. แบ่งตามลักษณะของการสร้างนวัตกรรม
• นวัตกรรมส่วนเพิ่ม
(incremental innovation)
• นวัตกรรมที่เพิ่งค้นพบ
(breakthrough innovation)
2. แบ่งตามลักษณะการใช้นวัตกรรม
• นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
(Product Innovation)
• นวัตกรรมกระบวนการ
(Process Innovation)
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ
ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ
เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.
การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น
หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น
การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT Web Quest Weblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น
การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น
ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ
2. ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้
3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ
ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
แนวคิดหลักของเทคโนโลยี
1. กิจกรรมเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา
หรือสนองความต้องการของมนุษย์
2. เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น
ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
3.
เทคโนโลยีสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และค่าใช้จ่ายถูกลง
4. มนุษย์ใช้ความรู้ ความคิด
จินตนาการ และทรัพยากรในรูปต่าง ๆ
5.
เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมีผลกระทบต่อสังคม การนำเทคโนโลยีไปใช้
มีทั้งคุณและโทษต่อสังคม
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม
กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้
ธรรมชาติของการเรียนรู้ คือความต้องการของผู้เรียน (Want) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ
(Stimulus) การตอบสนอง
(Response) การได้รับรางวัล
(Reward)
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น
จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2)
ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
1.
ประสบการณ์ (experiences) ประสาทสัมผัสทั้งห้า
ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง
ๆ
2.
ความเข้าใจ (understanding) การตีความหมายหรือสร้างมโนมติ
(concept) ในประสบการณ์นั้นๆ
3.
ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น