หน่วยที่ 4
จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ
อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน
เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน
อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.
ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.
หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3.
ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.
การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเรียนการสอน
หลักสำคัญในการสอน
1.
มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.
มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์
ใช้ในการเรียนการสอน
ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้
ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2.
ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ
การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้
1. พุทธนิยม หมายถึง
การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุกวัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ
พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอดจนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน
เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
จิตวิทยาครู
ครู
หมายถึง ผู้สอน มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ”
ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า หนัก สูงใหญ่
-
ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ครูต้องมีความหนักแน่น สุขุม
ไม่วู่วาม ทั้งความคิดและการกระทำ
หลักการที่สำคัญสำหรับครู
การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ให้ความยุติธรรมแก่เด็กอย่างเท่าเทียมกัน
ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน
ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน
หลักการที่สำคัญของครู
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-
ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-
ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ
คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย
เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
การเรียนรู้เกิดได้ง่าย
ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน
เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น