ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ น.ส.บุษกร นะมัสไธสง วิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่ 3 คบ.3

สวัสดีผู้เยี่ยมชม

สวัสดีผู้มาเยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอน ในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

หน่วยที่ 5

หน่วยที่  5
การออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีของ : Erikson
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการทางสังคมของอีริกสัน
อีริก อีริคสัน(Eric H.Erikson,1951) เป็นนักจิตวิทยาอยู่ในกลุ่ม Neo-Freudian Analysis
อีริคสัน เกิดที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต (Frankfirt) ประเทศเยอรมนี เมื่อปี 1902 หลังจากที่เข้าเกิดไม่นานพ่อก็แยกจากแม่เขาไป ต่อมา Theodor Homburger ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม หนังสือของเขาที่พิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1939 จะปรากฏว่าเขาใช้ชื่อ Erikson Homburger ต่อมาเขาได้ใช้นามสกุลเดิมมาต่อท้ายชื่อจึงเป็น Eri H. Erikson
Erikson ได้เข้ามาร่วมงานและถือว่าเป็นศิษย์คนหนึ่งของ Freud ในการตั้งทฤษฎีเขาก็นำแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ Freud แต่มีแบบแผนที่แตกต่างไปจาก Freud สำคัญๆ 3 เรื่อง คือ
            1. ระบบโครงสร้างของบุคลิกภาพ ( ซึ่ง Freud เน้นการทำงานของ id พัฒนาการมนุษย์โดยใช้ขั้นพัฒนาการทางเพศภายใต้การทำงานของพลังเพศ) แต่ทฤษฎีของ Erikson เน้นการวิเคราะห์ ego ว่ามีความสำคัญเพราะเป็นพลังที่ทำให้มนุษย์เกิดพัฒนาการของชีวิต เช่น การเกิดพัฒนาการของมโนมติต่างๆ และความสามารถในการตีความหมาย การสร้างมโนภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ego ยังทำให้เกิดระบบความคิดที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคลเขาเชื่อว่าการศึกษาพัฒนาการของชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นด้วย ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์คือ ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของประสบการณ์กับการทำหน้าที่ของ ego และเพิ่มช่วงพัฒนาการที่ขาดหายไปเป็น 8 ขั้น
           2. แบบพิมพ์ทางสังคม (social matrix) Erikson กล่าวว่า แบบพิมพ์ทางสังคม คือความสัมพันธ์ของบุคคลกับผู้เลี้ยงดูและบุคคลนอกครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกของบุคคลด้วย
           3. Erikson มุ่งความสนใจไปที่โอกาสที่บุคคลจะพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เขาเห็นว่าทั้งบุคคลและสังคมต่างก็สามารถอยู่ร่วมกันและมีความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้า
แนวความคิดของ Freud มีข้อตกลงกับทฤษฎี Erikson ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. วิธีการสร้างทฤษฎี (Approach to Theory Formation)Eriksonยอมรับในวิธีการและเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลของทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดยวิธีสังเกตให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความสำคัญของจิตไร้สำนึก (unconscious) และจิตใกล้สำนึก (preconscious) การเข้าใจบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลซึ่งแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัวและเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
2. แบบแผนชีวิต (Order of Human Life) Eriksonกล่าวว่า"บุคลิกภาพกับความสมดุลของสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน" ให้ความคิดเห็นว่าการมองเห็นคุณค่าและคุณธรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการเจริญเติบโตและความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง
3. คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Values) คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ทฤษฏีนี้เน้นถึงความสามารถสร้างสรรค์และความสามารถในการปรับตัวเขายอมรับในความสามารถของแต่ละคนที่สามารถฟันฝ่าชีวิตอยู่ได้ ด้วยความสามารถและความเป็นตัวของตัวเอง Erikson ไม่ได้มองว่าคนดีหรือเลวแต่บุคคลมีศักยภาพที่จะทำในสิ่งที่ดีหรือเลวได้เท่าๆ กัน
           4. สาเหตุพฤติกรรมมนุษย์ (Etilology of Human Bahavior) Erikson ยอมรับในแบบแผนพัฒนาการทางจิตเพศ (psychosexual) ของ Freudซึ่งมีความเห็นว่าการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใดนั้นที่เรียกว่าแรงขับซึ่งมีมาแต่กำเนิดจะเกิดจากจากสัญชาตญาณ (instincts) และทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ แสดงออกมาร่วมกันเรียกว่าพลังเพศ (libido) แสดงออกเป็นพฤติกรรมสำคัญ 2 ลักษณะ คือ
- เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด พลังนี้แสดงออกเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด
- เพื่อการทำลาย พลังนี้จะแสดงออกโดยพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นการทำลาย เช่น ความก้าวร้าว
5. แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ (Core of Human Functioning) Erikson มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับ Freud ว่าอารมณ์ทำหน้าที่ทุกกระบวนการของมนุษย์ ธรรมชาติของอารมณ์พิจารณาได้จากคุณภาพความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สภาพทางอารมณ์ต่างๆ ที่แสดงออกมาในรูปของความคิด การกระทำความรู้สึก
6. ทารกแรกเกิด (The newborn)ทารกแรกเกิดย่อมได้ปะทะกับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างไปจากสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์และเริ่มต้นที่จะมีบุคลิกภาพเป็นของเขาเองในระยะทารกสิ่งแรกที่เขาจะได้รับคือบทบาททางเพศทั้งเพศชายและเพศหญิงจะได้รับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
7. สิ่งแวดล้อม (Environments) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกาย (Physical) สังคม (Social) วัฒนธรรม (Culture) และความคิด (Ideational) สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลสำคัญต่อการวางรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล เพราะการปฏิบัติต่อกันของบุคคลในสังคม เช่น การอบรมสั่งสอน การฝึกหัด
ทฤษฎีบุคลิกภาพ
ทฤษฎีบุคลิกภาพที่สำคัญมีอยู่ 3 กลุ่ม หลักทฤษฎีของแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1. ทฤษฎีบุคลิกภาพตามแบบ (Type Theory) เป็นทฤษฎีที่แบ่งบุคลิกภาพออกตามเกณฑ์ 3 ประการ คือ
               1.1รูปร่างลักษณะ  เป็นการใช้เกณฑ์รูปร่างลักษณะของ บุคคลในการแบ่ง ดังเช่น การแบ่งของ
เชลดอน (Shedon
               1.2 ลักษณะทางเคมี และความสมดุลของต่อมไร้ท่อในร่างกาย ซึ่งในสมัยแรกของการแบ่งบุคลิกภาพใช้จำแนกบุคคลตามสารเคมีที่มีอยู่ในร่างกาย ในปัจจุบันหันมาเน้นเรื่องฮอร์โมน
             1.3 ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก  เป็นการแบ่ง บุคลิกภาพโดยอาศัยพฤติกรรมที่แสดงออกมาตาลักษณะของจิตใจ ดังเช่น ทฤษฎีของจุง (Carl G.Jung) เป็นต้น
2. ทฤษฎีพิจารณาบุคลิกภาพตามลักษณะ ( Trait Theory ) เป็นการแบ่งบุคลิกภาพตามลักษณะการแสดงออกของบุคคลในสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่วัดได้ด้วยการใช้มาตรส่วน ( Scales ) ตัวอย่างของทฤษฎีกลุ่มนี้ได้แก่ " Theory of Personal Disposition " ของออลพอร์ต ( Gordon W. Allport ) คำว่า " Personal Disposition " หมายถึง ลักษณะหลายประการที่บุคคลมีเฉพาะตัวแตกต่างกันแต่ละบุคคลซึ่งแฝงอยู่ โดยแบ่ง " Personal Disposition " ออกเป็น 3 ระดับ ตามความสำคัญ ได้แก่
           2.1 ลักษณะบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลแทบทุกด้าน เป็นลักษณะเด่นของบุคคลที่ปรากฏออกชัดเจนเหนือบุคลิกภาพอื่น ๆ ( Cardinal Traits )
          2.2 ลักษณะร่วมของบุคลิกภาพ ซึ่งมี 2 ถึง 3 แบบ ( Central Traits ) คนส่วนใหญ่จะมีลักษณะแบบ 2.1 มากกว่าแบบ 2.2
         2.3 ลักษณะที่มีอยู่อย่างผิวเผินในตัวบุคคล ( Secondary Traits ) ออลพอร์ต ( AllPort ) ใช้ลักษณะบุคลิกภาพทั้ง 3 ระดับ อธิบายลักษณะเฉพาะ ของแต่ละบุคคล ในการใช้ทฤษฎีนี้อธิบายบุคลิกภาพของบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพการณ์ในการแสดงออกของบุคคลด้วย เพราะถ้าสถานการณ์แตกต่างกันอาจแสดงพฤติกรรมแตกต่างกัน
3. ทฤษฎีพัฒนาการแบบจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalyic Theroies ) ทฤษฎีนี้ได้อธิบายพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ ในด้านลักษณะความขัดแย้งของแรงจูงใจ และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

การพัฒนาบุคลิกภาพของอีริคสัน
อีริคสัน ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางบุคลิกภาพว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดขึ้นเนื่องจากการที่คนติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยที่เขาได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 มีดังนี้
ขั้นที่ 1 การพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจกับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ (Trust Versus Mistrust) มีระยะเวลาตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กจะพัฒนาความไว้วางใจทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกนี้จะพัฒนาขึ้นมาได้เนื่องจากความเสมอต้นเสมอปลายของพ่อแม่ ในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก สิงสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ สัมพันธภาพระหว่างแม่ลูก
 ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองกับความไม่มั่นใจในตนเอง (Autonomy Versus Doubt) อยู่ในช่วงระยะตั้งแต่ 1-3 ขวบ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นมาก พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อแข็งแรง เริ่มจะทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองได้บ้าง แต่ยังไม่แน่ใจในความสามารถของตัวเอง
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative Versus Guilt) เป็นช่วงวัย 3-5 ขวบ เด็กในวัยนี้จะเริ่มช่วยตัวเองได้แต่ความสามารถของเขายังมีขอบเขตอยู่ มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น เริ่มใช้คำพูดแปลกๆ ทำกิจกรรมตามเพื่อนและสังคมที่
 ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry Versus Inferiority) จะอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเด็กตอนปลาย เด็กในวัยนี้มีความเจริญเติบโตมาก เริ่มแสดงความคิดเห็นและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เด็กจะเริ่มพัฒนาความรู้สึก เริ่มขยันขันแข็งหาความรู้ใส่ตนเอง
ขั้นที่ 5 ความเป็นเอกลักษณะกับความสับสนในบทบาท (Identity Versus Confusion) อยู่ในช่วงอายุ 13-19 ปี วัยรุ่นที่ได้รับความอบอุ่นและความไว้วางใจก็จะเข้าใจถึงความสามารถ ตลอดจนความขัดแย้งต่างๆ ที่ตนมีอยู่ได้อย่างถูกต้อง โดยเริ่มจากพ่อแม่เห็นคุณค่าสร้างความรู้สึกว่าเขาเป็นบุคคลหนึ่งที่สามารถแสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์ รับผิดชอบบางอย่างในครอบครัวได้ สามารถพัฒนาความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาได้ การที่วัยรุ่นเข้าใจเอกลักษณ์จะช่วยให้เขาเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ และสามารถตัดสินใจในเรื่องการเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง
ขั้นที่ 6 ความรู้สึกผูกพันเป็นมิตรกับความรู้สึกโดเดี่ยว (Intimacy Versus Isolation) เป็นช่วงเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่ อายุ 20 - 24 ปี หลังจากที่ผ่านขั้นที่ 5 มาแล้ว บุคคลสามารถรับรู้ได้ว่าเอกลักษณ์ของเขาคืออะไร ตนเองต้องการอะไร จุดมุ่งหมายในชีวิตคืออะไร ทำให้เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนที่จะรับรู้ แลกเปลี่ยนในสิ่ง
 ขั้นที่ 7 การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity Vesus Self Absorption) วัยกลางคนอยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี วัยนี้เป็นวัยที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เมื่อบุคคลพัฒนาถึงขั้นนี้แล้ว เอกลักษณ์ของบุคคลจะเป็นที่ประจักษ์ในสังคม มีการสั่งสอนอบรมลูกหลานให้เป็นคนดี
ขั้นที่ 8 ความรู้สึกมั่นคงสมบูรณ์กับความรู้สึกสิ้นหวัง (Integrity Versus Despair) ช่วงนี้เป็นวัยชรา อยู่ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของชีวิต ถ้าบุคคลสามารถผ่านขั้นตอนของพัฒนาการมาด้วยดี บุคคลจะมีประสบการณ์ในชีวิต พึงพอใจชีวิตของตน รู้จักหาความสุขความสงบ พอใจกับการมีชีวิตในวัยชรา ยอมรับสภาพความเป็นอยู่ตามสภาพความเป็นจริง เกิดความมั่นคงใจ

การวัดบุคลิกภาพ
การวัดบุคลิกภาพสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
1. การสัมภาษณ์และสังเกต ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังและการดู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจะใช้การสังเกตร่วมด้วยเพื่อให้มีความหน้าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
2. การทดสอบ มีหลายวิธีเช่น
              2.1 การทดสอบโดยการให้เขียนคำตอบลงในแบบทดสอบ ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ทดสอบที่สร้างขึ้นเอง หรือเป็นแบบทดสอบที่มีนักจิตวิทยาสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรื่องบุคลิกภาพ
              2.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบชนิดโปรเจคทีฟ (Projective Techniques) ซึ่งเป็นการทดสอบบุคลิกภาพโดยให้ดูภาพจากแบบทดสอบที่นักจิตวิทยาได้สร้างไว้ ภาพดังกล่าวจะเป็นภาพคลุมเครือ ให้ผู้ดูเล่าเรื่องจากการดูภาพว่าภาพนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร และเหตุการณ์ในภาพนั้นจะจบลงอย่างไร เมื่อผู้ตอบตอบเสร็จนำคำตอบมาประเมินผล ก็อาจจะประเมินบุคลิกภาพของผู้ตอบได้

สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อื่นสามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามโดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังต่อไป และเมื่ออยู่ในวัยชราก็จะมีความสุข เพราะว่าได้ทำประโยชน์และหน้าที่มาอย่างเต็มที่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น